เกร็ดความรู้
ลดเครียดได้ด้วยวิธีง่ายๆ ที่คุณอาจมองข้าม
ดอกเตอร์เควิน แซปแมนเซล นักจิตวิทยาคลินิกและผู้อำนวยการ The Kentucky Center for Anxiety and Related Disorders รัฐเคนทักกี สหรัฐอเมริกา ระบุถึงวิธีลดเครียดไว้ ดังนี้ให้เทคนิคดีๆ เพื่อคุณภาพการนอนที่ดี ดังนี้
จัดการความทุกข์ใจ จากสังคม ด้วยการจัดการความคิดของตนเอง
ป่วยกาย มีสาเหตุจากความผิดปกติของการทำงานของอวัยวะในร่างกาย หรือระบบการทำงานของระบบเลือดลม ฮอร์โมนต่างๆ ซึ่งอาศัยการรักษาและคำอธิบายทางการแพทย์แผนต่างๆ คือ อาการป่วยทางความคิด หรือเป็นความทุกข์ใจ ซึ่งสามารถเป็นสาเหตุสำคัญที่ทำให้ป่วยกายได้ เช่น ความทุกข์ทำให้เกิดโรคเครียด และความเครียดทำให้เกิดโรคต่างๆ มากมายตามมา
INSOMNIA SIGNS สัญญาณโรคนอนไม่หลับและความเสี่ยงต่อโรคอื่น
นายแพทย์เอนก กนกศิลป์ ผู้อำนวยการสถาบันโรคทรวงอก อธิบายว่า หากคุณมีอาการดังต่อไปนี้ แสดงว่าเข้าช่วยเป็นโรค นอนไม่หลับ ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหารสาเหตุและเข้าสู่กระบวนการรักษาต่อไป
เครียด ซึมเศร้า หมดไฟ ปัญหาทางใจยุคโควิดระบาด
นอกเหนือจากตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตที่เพิ่มขึ้นทุกวัน ณ ขณะนี้คนไทยและผู้คนทั่วโลกก็กำลังเผชิญหน้ากับปัญหาสุขภาพจิตอย่างหนักหน่วง 4 สาเหตุสำคัญที่โควิดส่งผลกระทบรุนแรงจนก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพจิตมีดังนี้
จำนวนผู้ทำแบบประเมิน
จำนวนผู้ที่ทำแบบประเมินความเครียด (ST-5) คือ แบบทดสอบสุขภาพจิต 5 ข้อ เพื่อใช้ในการประเมินตัวเองว่ามีความเครียดมากน้อยเพียงไร หรือ เขาข่ายเป็นโรคเครียดหรือไม่
จำนวนผู้ทำแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า(2Q)
จำนวนผู้ทำแบบประเมินภาวะซึมเศร้า(9Q)
จำนวนผู้ทำแบบประเมินการฆ่าตัวตาย(8Q)
แพทย์ผู้ทำการรักษา
คลินิกสุขภาพจิต โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ให้บริการตรวจรักษาและให้คำแนะนำ ประเมินพฤติกรรมต่างๆ ของเด็กและวัยรุ่น ให้การดูแล รักษาอย่างอบอุ่นและเอาใจใส่โดยทีมงานทางการแพทย์ ที่มีความรู้และประสบการณ์
อาจารย์ นพ.การุญพงค์ ภัทรามรุต
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจิตเวชทั่วไป โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีผศ.พญ.อารีรัตน์ สิริพงศ์พันธ์
แพทย์เฉพาะทางจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีพันโทนายแพทย์ธีรพันธ์ ธีระเศรษฐชัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจิตเวชทั่วไป โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีพญ.ภัสสร ตุงควิจิตรวัฒน์
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจิตเวชทั่วไป โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีพญ.จุฑามาศ ทิวทอง
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจิตเวชทั่วไป โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีพญ.โชติมา ครบตระกูลชัย
แพทย์ผู้เชี่ยวชาญจิตเวชทั่วไป, จิตแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการทำจิตบำบัดตามแนวซาเทียร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารีข่าวประชาสัมพันธ์
คลินิกสุขภาพจิต อาคารรัตนเวชพัฒน์ชั้น 6 รพ.มทส. เปิดทำการในเวลา จันทร์-ศุกร์ เป็น 08.00 - 16.00 น. นอกเวลาทำการ วันเสาร์ 08.00 - 16.00 น. (ในบางสัปดาห์) วันอังคาร พุธ พฤหัสบดี เวลา 17.00-20.00 น.
ช่องทางการติดต่อ
สามารถขอรับคำปรึกษา โดยโทร 063-045-5582,044-376-555 ต่อ 6713,6715 หรือมาด้วยตนเอง ณ คลินิกสุขภาพจิต อาคารรัตนเวชพัฒน์ชั้น 6 รพ.มทส. ในเวลาราชการทุกวัน (08.00 - 16.00 น.) และนอกเวลาทำการ วันเสาร์ 08.00 - 16.00 น. (ในบางสัปดาห์) วันอังคาร พุธ พฤหัสบดี เวลา 17.00-20.00 น. หรือ Facebook คลินิกสุขภาพจิต รพ.มทส.
ลดเครียดได้ด้วยวิธีง่ายๆ ที่คุณอาจมองข้าม
- จดจ่อกับปัจจัยที่ควบคุมได้
- หลับตื่นนอนให้เขียนสิ่งที่ต้องทำโดยเรียงลำดับความสำคัญและทำเท่าที่ทำได้
- จัดวันพักผ่อนให้ตัวเองโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลยอย่างน้อย 1 วันใน 1 สัปดาห์
- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 20 นาทีต่อเนื่อง และยืดเหยียดร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกายอีก 10-15 นาที
- จดบันทึกเรื่องราวดีๆ และสิ่งที่ทำให้คุณยิ้มหรือหัวเราะได้อย่างน้อยวันละ 1 เรื่อง
- ทำงานฝีมือ เพราะเป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ร่วมกับการฝึกสมาธิไปพร้อมๆกัน
- ฝึกโยคะในท่าที่ได้ก้มหัวลง จะทำให้เลือดไหลไปที่สมองได้ดีมากขึ้น
- ปฏิเสธให้เป็น การทำในสิ่งที่ผืนใจไม่ได้ช่วยให้คุณรู้สึกดี แต่มันจะส่งผลในทางตรงกันข้ามเสมอ
ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
จัดการความทุกข์ใจ จากสังคม ด้วยการจัดการความคิดของตนเอง
การแก้ไขที่ตัวเราง่ายกว่าการแก้ไขที่คนอื่น วิธีที่เราต้องฝึกเพื่อแก้ปัญญาที่ตนเองคือการบอกตนเองว่า พยายามหาข้อดีของเขาให้เจอ เป็นการสร้างทัศนคติบวกให้ตนเอง เมื่อมองเห็นข้อดีของคนอื่นเป็น ใจก็จะใสโปร่งโล่งสบาย เป็นใจที่สร้างความรักและเมตตาได้ง่าย คนที่มีเมตตาเสมอ จิตใจจะเบาสบาย มองโลกน่าอยู่ มีความสุขใจ เมื่อมีความสุขใจ ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุขออกมา
ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข
INSOMNIA SIGNS สัญญาณโรคนอนไม่หลับและความเสี่ยงต่อโรคอื่น
- นอนหลับได้ยาก นอนหลับไม่ต่อเนื่อง นอนหลับไม่สนิท
- มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง
- สมาธิลดลง ความสนใจและความจำลดลง
- อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่าย
- เกิดอาการง่วงนอนตอนกลางวัน ทั้งนี้ถ้าปล่อยไว้ ไม่รักษาให้ถูกต้อง จะส่งผลต่อสุขภาพ ได้แก่
- มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไป 2 เท่า
- มีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง โรคไขมันสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน
- เพิ่มอัตราการเสียชีวิตและเกิดอุบัติเหตุจากการขับหรือการทำงาน
คำแนะนำเบื้องต้นคือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตื่นนอนและเข้านอนตรงเวลา งดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์สื่อสารในห้องนอน รวมถึงงดดื่มกาแฟช่วงเวลาเย็นหรือก่อนนอน งดนอนกลางวันหลังบ่ายสามโมง จะช่วยปรับให้นาฬิกาชีวิตในร่างกายทำงานได้ตามปกติ
ถ้าปฏิบัติตามนี้ครบ 1 เตือนแล้วอาการนอนไม่หลับยังไม่ดีขึ้นต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน
ข้อมูลจาก นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 559 ปีที่ 24 16 มกราคม 2565
เครียด ซึมเศร้า หมดไฟ ปัญหาทางใจยุคโควิดระบาด
- การอนุมัติของโรคที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว
- คนทุกกลุ่มทั่วโลกจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ทั้งหมด
- ขาดการทำกิจกรรมพบปะสังสรรค์กันเหมือนเคย
- เกิดความสูญเสียทั้งทางเศรษฐกิจ ก่อปัญหาทางการเงินในระดับครอบครัวและระดับประเทศ
ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบจนทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องตกอยู่ในความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า และนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบชัดเจนที่สุดมี 4 กลุ่มได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาด้านการเงิน ผู้หญิงหรือผู้ปกครองที่ต้องดูแลเด็กเล็ก ผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวทางกายและทางจิตก่อนหน้าที่จะเกิดโรคระบาด
ทางทีมวิจัยระบุว่า ในภาวะโรคระบาด ผู้คนใน 4 กลุ่มนี้นับเป็นกลุ่มเปราะบางที่ภาครัฐและภาคประชาสังคมจำเป็นต้องหันมาเอาใจใส่และให้ความช่วยเหลือทั้งทางการเงินและดูแลสุขภาพกาย เพื่อให้พวกเขาสามารถปรับตัวและฟื้นฟูสุขภาพใจให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็วที่สุด
ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข