คลินิกสุขภาพจิต อาคารรัตนเวชพัฒน์ชั้น 6 รพ.มทส. เปิดทำการในเวลา จันทร์-ศุกร์ เป็น 08.00 - 16.00 น. นอกเวลาทำการ วันเสาร์ 08.00 - 16.00 น. (ในบางสัปดาห์)
0 4437 6555 ต่อ 6785

จำนวนผู้ทำแบบประเมิน

จำนวนผู้ที่ทำแบบประเมินความเครียด (ST-5) คือ แบบทดสอบสุขภาพจิต 5 ข้อ เพื่อใช้ในการประเมินตัวเองว่ามีความเครียดมากน้อยเพียงไร หรือ เขาข่ายเป็นโรคเครียดหรือไม่

จำนวนผู้ทำแบบคัดกรองภาวะซึมเศร้า(2Q)

จำนวนผู้ทำแบบประเมินภาวะซึมเศร้า(9Q)

จำนวนผู้ทำแบบประเมินการฆ่าตัวตาย(8Q)

แพทย์ผู้ทำการรักษา

คลินิกสุขภาพจิต โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี อยู่ภายใต้การดูแลของสำนักวิชาแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ให้บริการตรวจรักษาและให้คำแนะนำ ประเมินพฤติกรรมต่างๆ ของเด็กและวัยรุ่น ให้การดูแล รักษาอย่างอบอุ่นและเอาใจใส่โดยทีมงานทางการแพทย์ ที่มีความรู้และประสบการณ์

นพ.การุญพงค์ ภัทรามรุต

แพทย์เฉพาะทางจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

พญ.อารีรัตน์ สิริพงศ์พันธ์

แพทย์เฉพาะทางจิตเวชศาสตร์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

พันตรีนายแพทย์ธีรพันธ์ ธีระเศรษฐชัย

แพทย์เฉพาะทางจิตเวชศาสตร์ โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี

ช่องทางการติดต่อ

สามารถขอรับคำปรึกษา โดยโทร 063-045-5582,044-376-555 ต่อ 6785 หรือมาด้วยตนเอง ณ คลินิกสุขภาพจิต อาคารรัตนเวชพัฒน์ชั้น 6 รพ.มทส. ในเวลาราชการทุกวัน (08.00 - 16.00 น.) และนอกเวลาทำการ วันเสาร์ 08.00 - 16.00 น. (ในบางสัปดาห์) หรือ Facebook คลินิกสุขภาพจิต รพ.มทส.

ลดเครียดได้ด้วยวิธีง่ายๆ ที่คุณอาจมองข้าม

- จดจ่อกับปัจจัยที่ควบคุมได้

- หลับตื่นนอนให้เขียนสิ่งที่ต้องทำโดยเรียงลำดับความสำคัญและทำเท่าที่ทำได้

- จัดวันพักผ่อนให้ตัวเองโดยที่ไม่ต้องทำอะไรเลยอย่างน้อย 1 วันใน 1 สัปดาห์

- ออกกำลังกายอย่างน้อยวันละ 20 นาทีต่อเนื่อง และยืดเหยียดร่างกายก่อนและหลังออกกำลังกายอีก 10-15 นาที

- จดบันทึกเรื่องราวดีๆ และสิ่งที่ทำให้คุณยิ้มหรือหัวเราะได้อย่างน้อยวันละ 1 เรื่อง

- ทำงานฝีมือ เพราะเป็นการใช้ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ร่วมกับการฝึกสมาธิไปพร้อมๆกัน

- ฝึกโยคะในท่าที่ได้ก้มหัวลง จะทำให้เลือดไหลไปที่สมองได้ดีมากขึ้น

- ปฏิเสธให้เป็น การทำในสิ่งที่ผืนใจไม่ได้ช่วยให้คุณรู้สึกดี แต่มันจะส่งผลในทางตรงกันข้ามเสมอ

ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

จัดการความทุกข์ใจ จากสังคม ด้วยการจัดการความคิดของตนเอง

การแก้ไขที่ตัวเราง่ายกว่าการแก้ไขที่คนอื่น วิธีที่เราต้องฝึกเพื่อแก้ปัญญาที่ตนเองคือการบอกตนเองว่า พยายามหาข้อดีของเขาให้เจอ เป็นการสร้างทัศนคติบวกให้ตนเอง เมื่อมองเห็นข้อดีของคนอื่นเป็น ใจก็จะใสโปร่งโล่งสบาย เป็นใจที่สร้างความรักและเมตตาได้ง่าย คนที่มีเมตตาเสมอ จิตใจจะเบาสบาย มองโลกน่าอยู่ มีความสุขใจ เมื่อมีความสุขใจ ร่างกายจะหลั่งสารแห่งความสุขออกมา

ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข

INSOMNIA SIGNS สัญญาณโรคนอนไม่หลับและความเสี่ยงต่อโรคอื่น

- นอนหลับได้ยาก นอนหลับไม่ต่อเนื่อง นอนหลับไม่สนิท

- มีอาการอ่อนเพลีย ไม่มีแรง

- สมาธิลดลง ความสนใจและความจำลดลง

- อารมณ์ไม่ดี หงุดหงิดง่าย

- เกิดอาการง่วงนอนตอนกลางวัน ทั้งนี้ถ้าปล่อยไว้ ไม่รักษาให้ถูกต้อง จะส่งผลต่อสุขภาพ ได้แก่

- มีโอกาสเป็นโรคซึมเศร้ามากกว่าคนทั่วไป 2 เท่า

- มีโอกาสเกิดโรคหัวใจขาดเลือด ภาวะหัวใจวาย ความดันโลหิตสูง โรคไขมันสูง โรคเบาหวาน โรคอ้วน

- เพิ่มอัตราการเสียชีวิตและเกิดอุบัติเหตุจากการขับหรือการทำงาน

คำแนะนำเบื้องต้นคือ ออกกำลังกายสม่ำเสมอ ตื่นนอนและเข้านอนตรงเวลา งดใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์และอุปกรณ์สื่อสารในห้องนอน รวมถึงงดดื่มกาแฟช่วงเวลาเย็นหรือก่อนนอน งดนอนกลางวันหลังบ่ายสามโมง จะช่วยปรับให้นาฬิกาชีวิตในร่างกายทำงานได้ตามปกติ

ถ้าปฏิบัติตามนี้ครบ 1 เตือนแล้วอาการนอนไม่หลับยังไม่ดีขึ้นต้องรีบปรึกษาแพทย์โดยด่วน

ข้อมูลจาก นิตยสารชีวจิตฉบับที่ 559 ปีที่ 24 16 มกราคม 2565

เครียด ซึมเศร้า หมดไฟ ปัญหาทางใจยุคโควิดระบาด

- การอนุมัติของโรคที่เกิดขึ้นอย่างฉับพลันและการแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว

- คนทุกกลุ่มทั่วโลกจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตใหม่ทั้งหมด

- ขาดการทำกิจกรรมพบปะสังสรรค์กันเหมือนเคย

- เกิดความสูญเสียทั้งทางเศรษฐกิจ ก่อปัญหาทางการเงินในระดับครอบครัวและระดับประเทศ

ปัจจัยเหล่านี้ส่งผลกระทบจนทำให้ผู้คนทั่วโลกต้องตกอยู่ในความเครียด วิตกกังวล ซึมเศร้า และนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้ โดยกลุ่มที่ได้รับผลกระทบชัดเจนที่สุดมี 4 กลุ่มได้แก่ ผู้ที่มีปัญหาด้านการเงิน ผู้หญิงหรือผู้ปกครองที่ต้องดูแลเด็กเล็ก ผู้ป่วยจากการติดเชื้อโควิด และผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวทางกายและทางจิตก่อนหน้าที่จะเกิดโรคระบาด

ทางทีมวิจัยระบุว่า ในภาวะโรคระบาด ผู้คนใน 4 กลุ่มนี้นับเป็นกลุ่มเปราะบางที่ภาครัฐและภาคประชาสังคมจำเป็นต้องหันมาเอาใจใส่และให้ความช่วยเหลือทั้งทางการเงินและดูแลสุขภาพกาย เพื่อให้พวกเขาสามารถปรับตัวและฟื้นฟูสุขภาพใจให้กลับมาเป็นปกติโดยเร็วที่สุด

ข้อมูลจาก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข